ช่วงปลายปีค.ศ. 1960 และต้นปีค.ศ. 1970 ของ แฟรงก์ สเตลลา

ภาพจิตรกรรมของแฟรงก์ สเตลลา ที่พิมพ์เป็นแสตมป์ในงาน Documenta Kassal

กลางปี ค.ศ.1960 สเตลลาได้ร่วมงานกับช่างพิมพ์มืออาชีพที่ชื่อ เคนเน็ธ ไทเลอร์ ที่พิพิธภัณฑ์หอศิลป์แห่งชาติเจมินี (Gemini G.E.L.) ในรัฐนิวยอร์ก เขาทำงานแนวไม่หรูหรา ขนาดของผ้าใบของเขาจะมีความแตกต่างกับศิลปินที่ทำงานภาพพิมพ์คนอื่นๆ อย่างไรก็ตามช่างพิมพ์ในสมัยนั้นมีความกล้าเสี่ยงกับภาพพิมพ์มาจากกลุ่มหัวก้าวหน้า หรือที่เรียกว่า ลัทธิอาว็อง-การ์ด (Avant-garde)[5] มาแล้ว สเตลลาเริ่มสร้างงานชุดใหม่ที่เรียกว่า "Quathlamba I " (1968) โดยใช้เทคนิคการพิมพ์ เช่น ภาพพิมพ์หิน ภาพพิมพ์สกรีน การกัดกรด และภาพพิมพ์หินระบบออฟเซต(เป็นเทคนิคที่เขาแนะนำ) ส่งผลกระทบอย่างเข้มข้นต่อศิลปะภาพพิมพ์ในเวลานั้น

ในปี ค.ศ.1970 พิพิธภัณฑ์ศิลปะสมัยใหม่ (The Museum of Modern Art) ในรัฐนิวยอร์ก จัดแสดงงานนิทรรศการที่ผ่านมาของเขา ทำให้เขาเป็นศิลปินที่อายุน้อยที่สุดคนหนึ่ง ในระหว่างการทำงานตลอดทศวรรษที่ผ่านมา สเตลลาเริ่มคลี่คลายงานของเขามากขึ้น จนกล่าวได้ว่าเขาเป็น "Maximalist" และแนวงานที่ประชดประชันเยาะเย้ยงานจิตรกรรมที่ทำให้เขามีชื่อเสียงในช่วงก่อนปี ค.ศ. 1960 รูปทรงของผืนผ้าใบถูกลดทอนลง อย่างงานที่ชื่อชุดว่า “รูปหลายเหลี่ยมที่ผิดปกติ” (Eccentric Polygon) ซึ่งองค์ประกอบของภาพภาพตัดแปะที่ถูกแปะลงบนไม้อัด เป็นต้น งานของเขากลายเป็นลักษณะสามมิติมากขึ้น เขาเริ่มทำงานชิ้นใหญ่และลอยตัว แม้จะเป็นแค่ภาพจิตรกรรมแต่ก็ทำได้ดีเทียบเท่ากับงานประติมากรรม

หลังจากเขาสร้างงานด้วยการใช้ไม้หรือวัสดุอื่นๆ ในงานชุดว่า “หมู่บ้านโปแลนด์” (Polish Village) (1973) เขาก็สร้างสรรค์ผลงานที่เหนือระดับขึ้นไปอีก ด้วยการใช้อะลูมิเนียมเป็นแม่แบบของการทำงานจิตรกรรม เช่นเดียวกัน ในช่วงการทำงานราวปี ค.ศ.1970-1980 ผลงานของเขามีความซับซ้อนละเอียดและมีชีวิตชีวา ซึ่งอันที่จริงแล้วงานก่อนหน้านี้ของเขาที่ถูกเรียกว่าเป็นงานในกระแสลัทธิจุลนิยม (Minimalism) กลายเป็นความพิสดารจากรูปทรงของส่วนโค้ง

แฟรงก์ สเตลลา,โครงการออกแบบรถ บีเอ็มดับบลิว 3.0 CSL ปีค.ศ. 1976

ในปีค.ศ. 1973 เขาเริ่มสร้างสตูดิโอในบ้านของตัวเองที่รัฐนิวยอร์ก และปีค.ศ. 1976 เขาถูกรับมอบหมายโดยบริษัทบีเอ็มดับบลิว (BMW) ให้ลงสีรถยนต์รุ่น BMW 3.0 CSL ในโครงการ BMW Art Car